องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย
ข้อมูลทั่วไป

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
๑. ด้านกายภาพ
    ๑.๑  ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล 

ตำบลโชคชัย  ประกอบด้วย

หมู่ที่ 1 บ้านโชคชัย ผู้ปกครอง นายไพรัตน์ ธรรมนิตย์กิต ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 2 บ้านสระประทุม ผู้ปกครอง   นายวุฒิไกร  พลขันธ์ กำนัน
หมู่ที่ 3 บ้านป่าหมาก ผู้ปกครอง นายบุญเสริม เค็มกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 5 บ้านบุ ผู้ปกครอง    นายสมยศ ใยกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 6 บ้านกระโทก ผู้ปกครอง   นายวันชัย ต่วนกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 7 บ้านบิงน้อย ผู้ปกครอง  นายชาติชาย กรณ์โคกกรวด ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 8 บ้านบิง ผู้ปกครอง นายสมัย     ใหญ่กระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 9 บ้านบึงทับปรางค์ ผู้ปกครอง  นายสมพงษ์    หมู่กระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมูที่ 10 บ้านบึงทับปรางค์ ผู้ปกครอง นายสุรินทร์  เกลอกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 11 บ้านหนองสำโรง ผู้ปกครอง นายน้อม   เปลี่ยวกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 12 บ้านโพธิ์ทอง   ผู้ปกครอง นายเสน่ห์    เอี่ยมเผ่าจีน ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 13 บ้านหนองไผ่ ผู้ปกครอง นายฉลวย  ห่วงกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 14 บ้านสระประทุมใหม่พัฒนา  ผู้ปกครอง   นายวุฒิชัย มูลกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 15 บ้านปรางค์ใหม่พัฒนา   ผู้ปกครอง นายประจวบ โพยกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน

 

ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย  ประกอบด้วย
หมู่ที่  ๑  บ้านโชคชัย  
หมู่ที่  3  บ้านป่าหมาก
หมู่ที่  5  บ้านบุ
หมู่ที่  6  บ้านกระโทก
หมู่ที่  7  บ้านบิงน้อย  
หมู่ที่  8  บ้านบิง  
หมู่ที่  9  บ้านบึงทับปรางค์
หมู่ที่  10  บ้านบึงทับปรางค์
หมู่ที่  11  บ้านหนองสำโรง
หมู่ที่  12  บ้านโพธิ์ทอง
หมู่ที่  13  บ้านหนองไผ่
หมู่ที่  14  บ้านสระประทุมใหม่พัฒนา
หมู่ที่  15  บ้านปรางค์ใหม่พัฒนา


สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย           (ปัจจุบันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง)       ตั้งอยู่ที่  หมู่  ๑๐ บ้านบึงทับปรางค์ ตำบลโชคชัย  อำเภอโชคชัย  จังหวัดนครราชสีมา 

โทรศัพท์...
-  โทรศัพท์   ๐๔๔ – ๗๕๖๙๕๐
-  โทรสาร    ๐๔๔ – ๗๕๖๙๕๑

 

๑.๒  ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลโชคชัยเป็นที่ราบสูง  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร ตำบลโชคชัย   มีพื้นที่ประมาณ  34.9 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ  21,856.25 ไร่  โดยมีเนื้อที่แยกเป็นรายหมู่บ้าน  13  หมู่บ้าน
    

๑.๓  ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู  ซึ่งมี ๓ ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนมิถุนายน  อากาศร้อนและแห้งแร้ง  แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๕ – ๓๙.๙ องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ ๔๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน ฝนตกมากในช่วงเดือน กรกฎาคม – ตุลาคม แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม แต่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ ๑,๐๒๓ มิลลิเมตร  
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนนานราว ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ ๑๐ องศา   

๑.๔ ลักษณะของดิน
         ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย  ประมาณ  ๖๕% ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ ๒๐ % และลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินทรายประมาณ ๑๕ %


๑.๕  ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ  อุปโภค-บริโภค  จำนวน  ๑  แห่ง (การประปาส่วนภูมิภาค)  แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ๗ แห่ง ประกอบไปด้วย แม่น้ำมูล ,ลำตะคลอง,คลองลูกฟ้า,คลองลุง,คลองหนองไผ่,คลองหางตะคุ และ คลองทางหลวง เคยเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและองค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อเพียงพอกับภาคการเกษตรของประชาชน ส่วนแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น คือ คลองชลประทานลำพระเพลิงสายหลักดาดคอนกรีต และคลองยืม(ดิน)


๑.๕ ลักษณะของไม้และป่าไม้
        ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีป่าไม้ในพื้นที่ป่าสาธารณะหนองงาช้างจำนวนเจ็ดร้อยกว่าไร่  และมีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น  ผลัดใบ  

 

๒. ด้านการเมือง/การปกครอง    
 องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย มีการตั้งชุมชน ทั้งหมด  ๑๓  ชุมชน  แต่ละชุมชนมีกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน  ๙  คน  ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย  ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี  

 การประชุมทุกครั้งที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดขึ้น มีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุมรวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย  ส่งผลให้ดำเนินงานตามความต้องการของประชาชน และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย นอกจากนี้  องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัยได้จัดโครงการอบรมศึกษา  ดูงาน  ของคณะผู้บริหาร  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล  อสม. และกลุ่มผู้สูงอายุ  โครงการอื่นๆ สำหรับประชาชนอีกหลายโครงการ  เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลให้เจริญเท่าเทียมกับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นๆ และองค์การบริหารส่วนตำบลมีโครงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ  โครงการบางโครงการต้องระงับไว้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ  มีอัตรากำลังพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลจำกัด ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านบริการ  โดยองค์การบริหารส่วนตำบลแบ่งเขตการปกครอง  ดังนี้

 

๒.๑ เขตการปกครอง
เขตการปกครองของอำเภอโชคชัย  จังหวัดนครราชสีมา  แยกเป็น ๑๐ ตำบล
 อาณาเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลตำบลโชคชัย

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย
ทิศใต้   ติดต่อกับ ตำบลกระโทก อำเภอโชคชัย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลท่าเยี่ยม     อำเภอโชคชัย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลพลับพลา    อำเภอโชคชัย



แบ่งเขตการปกครองตำบล ดังนี้          

หมู่ที่ 1 บ้านโชคชัย ผู้ปกครอง นายไพรัตน์ ธรรมนิตย์กิต ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 2 บ้านสระประทุม ผู้ปกครอง   นายวุฒิไกร  พลขันธ์ กำนัน
หมู่ที่ 3 บ้านป่าหมาก ผู้ปกครอง นายบุญเสริม เค็มกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 5 บ้านบุ ผู้ปกครอง    นายสมยศ ใยกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 6 บ้านกระโทก ผู้ปกครอง   นายวันชัย ต่วนกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 7 บ้านบิงน้อย ผู้ปกครอง  นายชาติชาย กรณ์โคกกรวด ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 8 บ้านบิง ผู้ปกครอง นายสมัย     ใหญ่กระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 9 บ้านบึงทับปรางค์ ผู้ปกครอง  นายสมพงษ์    หมู่กระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมูที่ 10 บ้านบึงทับปรางค์ ผู้ปกครอง นายสุรินทร์  เกลอกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 11 บ้านหนองสำโรง ผู้ปกครอง นายน้อม   เปลี่ยวกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 12 บ้านโพธิ์ทอง   ผู้ปกครอง นายเสน่ห์    เอี่ยมเผ่าจีน ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 13 บ้านหนองไผ่ ผู้ปกครอง นายฉลวย  ห่วงกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 14 บ้านสระประทุมใหม่พัฒนา  ผู้ปกครอง   นายวุฒิชัย มูลกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 15 บ้านปรางค์ใหม่พัฒนา   ผู้ปกครอง นายประจวบ โพยกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน

 

ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลบ้านโชคชัยส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน  การช่วยเหลืองาน เสนอแนะในกิจกรรม    ของ....
ขององค์การบริหารส่วนตำบลในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ  

ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  ( ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยาย 2555 )  แยกเป็น

1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งสิ้น  3,461 คน  แยกเป็น
-  ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย  ครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2555  จำนวน  2,570  คน  คิดเป็น  74.25 %
-  บัตรเสีย     จำนวน  374  บัตร

2. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย รวมทั้งสิ้น  3,461 คน  แยกเป็น
-  ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย  ครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2555  จำนวน  2,570  คน  คิดเป็น  74.25 %
-  บัตรเสีย     จำนวน  61  บัตร

ปัจจุบันนายกและสมาชิกมาจากคำสั่ง คสช.  และปัจจุบันยังไม่มีการเลือกตั้ง

 


๓. ประชากร
    ๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2561

หมู่ที่ หมู่บ้าน ครัวเรือน เพศชาย เพศหญิง  รวม ตำกว่า 18ปี ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
1 บ้านโชคชัย 31 17 17 34
      6
28
2 บ้านสระประทุม 36 3 3 6 - 6
3 บ้านป่าหมาก 164 114 121 235 48 183
5 บ้านบุ 57 85 75 160 29 136
7 บ้านบิงน้อย 202 184 186 370 81 276
8 บ้านบิง 97 168 181 349 83 268
9 บ้านบึงทับปรางค์ 200 302 369 676 138 538
10 บ้านบึงทับปรางค์ 669 305 343 648 137 548
11 บ้านหนองสำโรง 221 355 373 728 179 556
12 บ้านโพธิ์ทอง 623 264 255 519 116 397
13 บ้านหนองไผ่ 120 108 120 228 47 164
14 บ้านสระประทุมใหม่พัฒนา 284 198 179 377 94 246
15 บ้านปรางค์ใหม่พัฒนา 416 404 480 884 187 641
  รวม 3,123 2,507 2,702 5,209 1,145    3,985




๓.๒ ช่วงอายุและจำนวนประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย  อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา

  หญิง ชาย  หมายเหตุ
จำนวนประชากรเยาวชน  552 คน 591  คน อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี
จำนวนประชากร  1,576  คน 1,700  คน อายุ ๑๘-๖๐ ปี
จำนวนประชากรผู้สูงอายุ 400  คน 311  คน อายุมากกว่า ๖๐ ปี
รวม ๒,๖๕๒คน ๒,๔๗๘ คน ทั้งสิ้น ๕,๑๓๐ คน


 



แฟ้มที่เกี่ยวข้อง (คลิกเพื่อเปิดแฟ้ม)
องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย สภาพทางสังคม   องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ระบบบริการพื้นฐาน   องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ระบบเศรษฐกิจ   องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น   องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม   องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ทรัพยากรธรรมชาติ/อื่นๆ